三合院 – ซันเหอเยวี้ยน
โดย : คุณนายฮวง
นอกจาก นิยายออนไลน์ สนุกๆ แล้ว อ่านเอา ยังมีคอลัมน์ ‘(เรื่องเล่า) 6,200 วันในไต้หวัน’ โดย คุณนายฮวง สาวไทยสุดไฮเปอร์ที่จับพลัดจับผลูมาอยู่ไทเปได้หลายปีดีดักกับเรื่องเล่าเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในต่างแดนที่เต็มไปด้วยสีสันและมุมมองหลากหลาย เรื่องราวดีๆ ที่ อ่านเอา อยากให้คุณได้ อ่านออนไลน์
***********************************
ฉันเคยบอกไหมคะว่า หนึ่งในอาชีพที่เคยใฝ่ฝันอยากจะเป็นคือสถาปนิก แต่ด้วยความที่ตอนเรียน ม.ปลาย วิชาหลักๆ ที่ใช้ในการสอบเข้าคณะสถาปัตย์ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี คุณนายฮวงทำคะแนนออกไปทางแนวรุ่งริ่งซะมากกว่ารุ่งเรือง😅 ก็เลยต้องดับฝันนั้นไปโดยปริยาย แต่ความชอบเรื่องสถาปัตยกรรมต่างๆ ก็ยังคงอยู่ไม่หนีหายไปไหน เวลาไปเที่ยวที่ไหนๆ นอกจากความสนใจในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนพลเมืองประเทศนั้นๆ แล้ว ก็มีเรื่องตึกรามบ้านช่องนี่ล่ะ ที่อิฉันชอบสอดส่ายสายตามองดู โดยเฉพาะบ้านเก่าๆ ยิ่งถ้าเป็นบ้านที่มีงานไม้สวยๆ ประกอบอยู่ จะยิ่งปลื้มหนักขึ้นไปอีก
พอมาอยู่เกาะนี้ ก็ได้รู้จักบ้านแบบ ‘三合院 – ซันเหอเยวี้ยน’ ที่อาจกล่าวได้ว่าคือหนึ่งในแบบบ้านสไตล์ ‘福建 – ฝูเจี้ยน’ (ในภาษาแต้จิ๋วคือฮกเกี่ยง หรือที่คนไทยเรียกเพี้ยนมาเป็นฮกเกี้ยนนั่นล่ะค่ะ) อันเป็นมณฑลที่อยู่ติดชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน มีช่องแคบไต้หวันกั้นระหว่างฝูเจี้ยนกับเกาะไต้หวัน ดังนั้น บรรดาบ้านแบบซันเหอเยวี้ยนในไต้หวัน จึงเป็นบ้านของชาวฝูเจี้ยนที่อพยพข้ามช่องแคบมาตั้งรกรากบนเกาะนี้ซะเกือบทั้งนั้น
ตานี้มาอธิบายถึงลักษณะของบ้านแบบซันเหอเยวี้ยนกันนิดนึง มันเป็นบ้านยอดนิยมของคนจีนสมัยโบราณ มีรูปร่างเป็นตัว U คว่ำคล้ายกับตัวอักษรจีน 凹 – อาว ที่แปลว่าเว้าเข้ามา โดยจะมีทางเดินเชื่อมต่อกันได้หมดทั้งสามตึก (ทางเชื่อมนี้ภาษาจีนกลางเรียกว่า 廂房 – เซียงฝัง) ซันเหอเยวี้ยนจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าก็ได้ คือหมายถึงว่า ทั้งสามตึกนั้นจะมีความยาวของแต่ละตัวตึกเท่ากัน หรือตัวตึกที่เป็นส่วนกลางจะยาวกว่า หรือสองตึกที่เป็นด้านซ้ายขวาจะยาวกว่าก็ได้ทั้งนั้น และจะเป็นบ้านชั้นเดียวหรือมีหลายชั้นก็ได้อีกเช่นกัน แล้วแต่ขนาดของครอบครัวผู้พักอาศัย ด้วยความที่มันเป็นอาคารสามหลังที่มาเชื่อมต่อกันเข้าเป็นรูปตัวยู จึงเรียกได้อีกว่า 三間屋 – ซันเจียนอู แปลตรงตัวเป๊ะก็คือ บ้านสามห้อง
ตัวอาคารหลักที่อยู่ตำแหน่งตรงกลางนั้น จะมีห้องหลัก (ฉันขอใช้คำว่าห้องโถงใหญ่ละกันนะ) ที่จะใช้เป็นห้องอะไรก็แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น แต่ส่วนใหญ่จะใช้เป็นห้องสำหรับทำพิธีกรรมต่างๆ เช่น พิธีแต่งงาน จากนั้นจึงเป็นห้องนอนขนาบข้างห้องโถงใหญ่นี้ โดยมากเป็นห้องนอนของหัวหน้าครอบครัวนั้นล่ะ ส่วนตึกที่เป็นปีกทั้งสองข้างของตัวยูนั้น จะสั้นหรือยาวก็แล้วแต่ความต้องการพื้นที่ใช้สอยของแต่ละครอบครัวปีกทั้งสองนี้เป็นที่ตั้งของห้องครัว ห้องน้ำ ห้องเก็บของ และห้องนอนในกรณีที่มีคนอยู่เยอะ ในไต้หวันเราเรียกตึกที่เป็นปีกสองข้างนี้ว่า 護龍 – หู้หลง แปลตรงตัวได้ว่า มังกรคุ้มภัย แหมฟังแล้วรู้สึกน่าเกรงขามดีจัง จะว่าไปก็เข้าเค้านะ เพราะมันเป็นตึกเหมือนเป็นปีกสองฝั่งที่โอบล้อมตัวอาคารหลักที่เป็นฐานของตัวยูเอาไว้ แล้วถ้าจะมีการต่อเติมบ้านเพราะขนาดครอบครัวใหญ่ขึ้น ก็จะสร้างตึกหู้หลงขึ้นมาอีกคู่นึง ตั้งขนานไปกับตึกหู้หลงแรกทั้งปีกซ้ายและปีกขวาค่ะ ไม่ต่อเติมแบบมั่วๆ นะ มีแบบแผน แล้วก็มีการเรียกชื่อแบ่งโซนกันคือ คู่แรกดั้งเดิมนั้นก็จะถูกเรียกว่า 內護 – เน่ยหู้ความหมายคือตัวป้องกันชั้นใน ส่วนหู้หลงที่เป็นคู่ต่อเติมก็เรียกกันว่า 外護 – ไว่หู้ หรือตัวป้องกันชั้นนอกนั่นเอง ตานี้ฉันก็เลยสงสัยว่า ถ้ามีต่ออีกคู่และอีกคู่ต่อไปอีกเรื่อยๆ ตานี้จะเรียกยังไงหว่า 外護 หนึ่ง,สอง,สามเหรอ😆
พูดถึงตัวอาคารไปแล้ว เรามาพูดถึงสนามตรงกลางที่บ้านสร้างโอบล้อมกันบ้างนะ ตรงนี้จะทำเป็นลานนั่งเล่นชมจันทร์รวมญาติกันวันไหว้พระจันทร์ หรือสวนสวยอะไรก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละครอบครัวกันนะจ๊ะ แต่ที่เป็นข้อห้ามแน่ๆ ถ้าจะปลูกต้นไม้ในลานตรงกลางบ้านนี้ ห้ามปลูกต้นหม่อน (桑樹 – ซังซู่) ต้นหลิว (柳樹 – หลิ่วซู่) ต้นสาลี่ (梨樹 –หลีซู่) ต้นแคฝรั่ง (刺槐樹 – ชื่อหวยซู่) คิดว่าเหตุผลน่าจะเป็นเพราะชิ่อของต้นไม้พวกนี้ เสียงไปพ้องกับคำที่มีความหมายไม่ค่อยดีนัก เช่น ซังซู่ คำว่าซังมีตัวหนังสือจีนอีกตัวนึงที่ออกเสียงเหมือนกันเป๊ะ แต่แปลว่าบาดเจ็บ ส่วนต้นอื่นๆ ที่เหลือนั้น ก็น่าจะเป็นเช่นเดียวกันค่ะ ว่ากันว่าซันเหอเยวี้ยนนี้เริ่มมีขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ที่ตามหมู่บ้านต่างๆ สร้างบ้านแบบนี้ ก็เพื่อให้ได้ใช้ประโยชน์ใช้สอยจากที่ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ในไต้หวันนี้ยังมีบ้านแบบซันเหอเยวี้ยนนี้อยู่หลายแห่ง สภาพบ้านก็แล้วแต่เจ้าของจะดูแลกัน ถ้าในละแวกไทเป ที่ยังรักษาไว้ในสภาพดี เท่าที่ฉันรู้ก็มีบ้านของตระกูลหวาง ที่ได้กลายมาเป็นส่วนนึงของโรงเรียนมัธยมต้นหลงเหมินที่เขตต้าอัน เข้าใจว่าโรงเรียนเป็นผู้ดูแลรักษาไว้นะ แล้วก็มีLin An-Tai Historical House & Museum ที่อยู่ไม่ไกลจาก Taipei Fine Art Museum เท่าไหร่นัก อยู่ในระยะพอเดินไหวค่ะ อาจจะหอบลิ้นห้อยเล็กน้อยแค่นั้นแหละ😅 มีอีกที่ที่อยากแนะนำคือ 林本源園邸 ออกเสียงตามภาษาจีนกลางว่า หลินเปิ่นหยวน หยวนตี้ อยู่ที่เขตปั่นเฉียว เมืองนิวไทเปค่ะเพราะจัดได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมบ้านแบบจีนที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดในไต้หวัน ตอนที่ฉันอพยพ (ฟังเหมือนผู้อพยพลี้ภัยหน่อยๆเนอะ 😄) มาอยู่ไต้หวัน บ้านเช่าหลังแรกของเราก็อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากบ้านตระกูลหลินนี่ล่ะค่ะ ตอนเห็นป้ายบอกทางตามถนนครั้งแรกก็ถามคุณชายว่าตระกูลหลินนี่สำคัญยังไงเหรอ (นึกว่าเผื่อจะเป็นแบบ ‘บ้านแม่ทัพตระกูลหยาง’ น่ะค่ะ) ฮีตอบว่า ไม่มีอะไร แค่บ้านคนรวยสมัยก่อนน่ะ แล้วฉันก็ยุ่งๆกับชีวิตจนลืมบ้านนี้ไป จนกระทั่งปลายปี 2013 นั่นแน่ะ ถึงได้มีโอกาสไปเยี่ยมชม
บรรพบุรุษของบ้านตระกูลหลินนี้คือ คุณหลินอิงอิน อพยพข้ามทะเลจากมณฑลฝูเจี้ยนมาลงหลักปักฐานที่ไต้หวันเมื่อปี ค.ศ. 1778 คุณหลินตอนมานี่ก็ยังไม่ใช่คนร่ำรวยเท่าไรหรอกค่ะ เพราะมีอาชีพเป็นครู แต่ลูกชายของเขาคุณหลินผิงโหว คนนี้ตะหากที่มาตามหาพ่อ แล้วก็ไปรับจ้างทำงานที่โรงสีข้าวแห่งหนึ่ง ทำไปทำมาเถ้าแก่โรงสีคงเห็นแววเลยให้ยืมเงินไปลงทุนทำเอง ด้วยความที่คุณหลินคนลูกเป็นคนมีหัวการค้าและขยันขันแข็งจึงทำมาค้าขึ้น จนกลายเป็นไฮโซตระกูลหลินไปนั่นแล บ้านตระกูลหลินที่ปั่นเฉียวผ่านร้อนผ่านหนาวมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1851 จนถึงปัจจุบันนี้ เพราะฉะนั้นสำหรับฉัน การอนุรักษ์ดูแลให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ได้ขนาดนี้ ต้องบอกว่าผู้น้อยขอคารวะจริงๆค่ะ👍👏
ถ้าใครอยากชมบ้านคนรวยไฮโซของไต้หวันในอดีต ก็เชิญได้นะคะเช็ควิธีเดินทางไปจากเว็บไซต์ก่อนได้ค่ะ ค่อนข้างสะดวกพอสมควร https://en.linfamily.ntpc.gov.tw/
- READ 台灣飲食系列展 - ไถวันอิ่นสือซี่เลี่ยจั่น
- READ 大稻埕+迪化街 - ต้าเต้าเฉิง+ตี๋ฮว้าเจีย
- READ 基隆塔 - จีหลงถ่า
- READ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า
- READ เป็ดปักกิ่งสไตล์ไต้หวัน กับ 農曆 (หนงลี่)
- READ "Meet Warbie" เมื่อคุณนายฮวงปะทะเจ้านกอ้วนจอมกวน
- READ Road Trip 1 : หรรษา 阿里山 - อาลีซัน (Alishan)
- READ Road Trip 2 : ดูโบสถ์ ชมงานศิลป์ ฟินธรรมชาติ
- READ "擂茶 - เหลยฉา" ของดีมีทีเด็ดที่ประโยชน์เต็มคำ
- READ "Before I Fall in Love" 李玟 - หลี่เหวิน
- READ 國家太空中心 - กั๋วเจียไท่คงจงซิน
- READ ‘台菜 – ไถไช่
- READ 同性婚姻 - ถงซิ่งฮุนอิน
- READ 情人湖 - ฉิงเหรินหู
- READ 糧食危機 - เหลียงสือเหวยจี
- READ One fine day กับ 烏骨雞
- READ 螢火蟲 - อิ๋งหั่วฉง
- READ 千島湖 - เชียนเต่าหู
- READ 陽明書屋 - หยังหมิงซูอู
- READ 媽祖 - มาจู่
- READ 世界棒球經典賽 - ซื่อเจี้ยปั้งฉิวจิงเตี่ยนไซ่
- READ 台灣燈會 - ไถวันเติงหุ้ย
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 3)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 2)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 1)
- READ 利息 - ลี่สี
- READ 中藥 - จงเอี้ยว
- READ 剪纸 - เจี่ยนจื่อ
- READ 市長 - ซื่อจั่ง
- READ หวังอยู่ - 王羽
- READ 大同電鍋 - ต้าถงเตี้ยนกัว
- READ ภาษาดอกไม้
- READ 隔離 - กักตัว (2)
- READ 隔離 - กักตัว
- READ 虎爺 - เทพเสือ
- READ ดอกไม้โปรดเจียงไคเช็ค
- READ 核能電廠 - เหอเหนิงเตี้ยนฉั่ง
- READ จากถ้ำสู่วัง
- READ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน
- READ 針灸 - เจินจิว
- READ ทัวร์กินทิพย์กับ 3 ร้านบ้านๆ
- READ 氣象先生 - ชี่เซี่ยงเซียนเซิง
- READ Mommy and Uan (1) : How a stray dog has changed my life
- READ Mommy and Uan (2) : Unconditional love
- READ วัคซีนแห่งความเสียสละ
- READ ซอกแซกแถวตั้นสุ่ย
- READ ย่ำกรุงเก่าไต้หวัน
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (1)
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (2)
- READ ถามหาไต้ฝุ่น
- READ 財神 – ไฉเสิน
- READ 累積點數 - เหล่ยจีเตี่ยนซู่
- READ พาคุณชายไปเที่ยว
- READ 圖書館 - ถูซูกวั่น
- READ 麻辣 - หมาล่า
- READ 茶入菜 - ฉารู่ไช่
- READ 三合院 - ซันเหอเยวี้ยน
- READ 梅花 - เหมยฮวา
- READ 茶花 - ฉาฮวา
- READ 溫泉 - เวินเฉวียน
- READ คุณหมอนักเขียน
- READ 冬至 - ตงจื้อ
- READ 鄭和 - เจิ้งเหอ
- READ ของกินเฉพาะฤดูหนาว
- READ 土地公 - ถู่ตี้กง
- READ คุณนายฮวงชวนชิม
- READ 護身符 - หู้เซินฝู
- READ 臺北市動物保護處 - ไถเป่ยซื่อต้งอู้เป่าหู้ฉู้
- READ 基隆廟口夜市 - จีหลงเมี่ยวโข่วเย่ซื่อ
- READ 水燈節 - สุ่ยเติงเจี๋ย
- READ 身份證 - เซินเฟินเจิ้ง
- READ 旗袍 - ฉีเผา
- READ 萬安演習 - วั้นอันเอี่ยนสี
- READ 婚禮 - ฮุนหลี่
- READ Give me an inhalant please!
- READ เที่ยวฟาร์มออร์แกนิก
- READ ชาวสีรุ้ง
- READ 中秋節 - จงชิวเจี๋ย
- READ ชีวิตคนเดินดิน
- READ 湘菜 - เซียงไช่
- READ ข่าวจากสำนักข่าวคุณนายฮวง ณ ไทเป
- READ Discovery Center of Taipei City
- READ 月下老人 - เยว่เซี่ยเหล่าเหริน
- READ In and Out
- READ 情人節 - ฉิงเหรินเจี๋ย
- READ 鬼月 - กุ่ยเยว่
- READ โบกมือลา
- READ มังกรนำทาง
- READ เขาดินไทเป
- READ 快炒 - ไคว่เฉ่า
- READ หนีร้อนไปพึ่งเย็น
- READ เกี๊ยว
- READ เจ่าชัน -早餐
- READ Beyond Beauty : Taiwan from Above
- READ ตั้งไข่ (ไม่) ล้ม
- READ เกาหลิงฮว้าเซ่อหุ้ย
- READ วัด วัด วัด
- READ Old Normal
- READ ภาษาจีนวันละหลายคำ
- READ Portable Bubble Milk Tea
- READ Snow Flower
- READ Birthday Snippets
- READ มังกรโบราณ
- READ ภาษาจีนวันละคำ
- READ ชิงหมิงเจี๋ย
- READ ซ่งไอ่หลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องความสวยงาม
- READ ซ่งชิ่งหลิง
- READ ไวรัสหลายชื่อ
- READ ซ่งเหม่ยหลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องชา (tea นะจ๊ะ มิใช่เหน็บชา😊)
- READ แม่ค้าผักผู้ยิ่งใหญ่
- READ อาหารเพื่อสุขภาพ
- READ เด็กที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ
- READ Jimmy Liao
- READ ระบอบการปกครองของไต้หวัน
- READ หยวนเซียวเจี๋ย
- READ เอนหลังนั่งคุยเรื่อง 'ตรุษจีน'
- READ ศูนย์พักฟื้นหลังคลอดบุตร
- READ มูลนิธิฉือจี้
- READ 7 - ELEVEN
- READ สีสันบันเทิงฉบับไต้หวัน
- READ เรื่องของศิลปะและวัฒนธรรม
- READ ตัวอักษรจีน
- READ ไปตลาดกันดีกว่า
- READ หวางเหล่าซือ
- READ ทีวีไต้หวัน
- READ Mommy and Uan
- READ ไต้หวันรักษ์โลก
- READ ล็อตเตอรี่ใบเสร็จรับเงิน
- READ Hiking
- READ ภัยธรรมชาติประจำเกาะ
- READ อาหารการกินในไต้หวัน
- READ ชีวิตในไต้หวัน
- READ โรงเรียนในไต้หวัน
- READ ระบบขนส่งมวลชนไต้หวัน
- READ Lost in Translation
- READ บ้านในไต้หวัน 2
- READ บทนำ
- READ คนไต้หวัน
- READ บ้านในไต้หวัน 1