
หวางเหล่าซือ
โดย : คุณนายฮวง
นอกจาก นิยายออนไลน์ สนุกๆ แล้ว อ่านเอา ยังมีคอลัมน์ ‘(เรื่องเล่า) 6,200 วันในไต้หวัน’ โดย คุณนายฮวง สาวไทยสุดไฮเปอร์ที่จับพลัดจับผลูมาอยู่ไทเปได้หลายปีดีดักกับเรื่องเล่าเกี่ยวกับการใช้ชีวิตต่างแดนที่เต็มไปด้วยสีสันและมุมมองหลากหลาย เรื่องราวดีๆ ที่ อ่านเอา อยากให้คุณได้ อ่านออนไลน์
***********************************
– หวางเหล่าซือ –
เมื่อถูกทาบทามให้ไปสอนภาษาไทยที่โรงเรียนประถมแห่งหนึ่งแถวๆ ตึกไทเป 101 เมื่อตอนต้นเดือนสิงหาคม ปี 2017 ตอนนั้นฉันแค่คิดว่าช่วยทางโรงเรียนเขาหน่อยละกัน เพราะเหลืออีกแค่ประมาณสามสัปดาห์ก็จะเปิดเรียนแล้ว (ปีการศึกษาของไต้หวันเริ่มที่ต้นเดือนกันยายน) แล้วสอนแค่วันอังคารกับพุธ วันละคาบ(คาบหนึ่งมี 40 นาที) ตอน 8.00-8.40 น. แค่นั้นเอง และเป็นแค่โครงการทดลองของทางโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครไทเป เอ้า! ลองๆ กันไปทั้งสองฝ่ายดูซักตั้งละกัน
คาบของวันอังคารมีนักเรียนชั้น ป.4-ป.6 ปนกัน วันพุธเป็นเด็กชั้น ป.1-ป.3 ซึ่งแต่ละคาบมีนักเรียน 7 คน ห้องที่ใช้สอนเป็นห้องประชุมของทางโรงเรียนที่มีเก้าอี้แบบมีล้อเลื่อน วันอังคารนี่ไม่เท่าไรค่ะเพราะเด็กโตหน่อย แต่วันพุธนี่สิ เจ้าเจ็ดคนที่เป็นเด็ก ป.2 กับ ป.3 เนี่ยล่ะ เล่นเอา ‘หวางเหล่าซือ’ นับหนึ่งถึงล้านแทบทุกคาบ มีทั้งเลื่อนเก้าอี้เล่นกันไปมา เล่นกันไม่ฟังครูสอน ป่วนหนักเข้าจนฉันทนไม่ไหว ลงโทษให้วันนั้นยืนเรียน ปรากฏว่าพวกนางยืนเล่นชกมวยกันต่อ!! คือฉันก็พยายามคิดนะคะว่าพ่อแม่เด็กลงชื่อให้เด็กเรียน ตัวเด็กไม่ได้สนใจรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับเมืองไทยหรอก แต่แหม เจอฤทธิ์เดชพวกลูกหลานผู้มีอันจะกินนี่ก็เล่นเอาฉันเหนื่อยเหมือนกันนะ แค่หาวิธีหลอกล่อให้สนใจบทเรียนนี่ เซลล์สมองทำงานกันหนักมากค่ะ สอนกันได้ปีนึงฉันเริ่มรู้วิธีรับมือ (มีการแจกรางวัลให้นักเรียนดีเด่นบ้าง
) พอตอนปลายเดือนมิถุนายน ปี 2018 (จบเทอมสอง) ทางโรงเรียนถามว่าจะสอนต่อไหม (ถามแบบนำพยานมากว่า “หวางเหล่าซือเทอมหน้าสอนต่อใช่ไหม”
) ฉันก็คิดว่า เอาน่ะ ออกมารบกับเด็ก ได้ใช้สมองบ้าง สมองจะได้ไม่ตาย สอนก็สอนต่อวะ
ปรากฎว่าต้นเดือนสิงหา หัวหน้าฝ่ายการศึกษาโทร. มาหาฉัน บอกว่า “หวางเหล่าซือ ไม่รู้เกิดอะไรขึ้น นักเรียนมาลงชื่อเรียนภาษาไทยตั้ง 34 คน ตอนนี้กำลังจัดตารางเรียนของเด็กกันอยู่ สงสัยเทอมหน้าเหล่าซือคงต้องสอนวันอังคารทั้งวัน (8.00-16.00 น. รวม 8 คาบ) วันพุธครึ่งวัน (8.00-12.00 น. รวม 5 คาบ) ไหวไหมเหล่าซือ” ฉันอึ้งไปแป๊บ ก่อนจะตอบแบบทีเล่นทีจริงว่า “ถ้าอั๊วตอบไม่ไหว ได้ปะล่ะ” เอ้า รับปากแล้วว่าจะสอนต่ออีกปี ก็ต้องลุยกันต่อไปอะเนอะ
พอถึงเวลาเปิดเทอมสอนสัปดาห์แรก โอ้ เจอทุกรูปแบบเลยค่ะ มีหลายคาบที่มีนักเรียนแค่คนเดียว บางคาบสองคน บางคาบสามคน บางคาบแปดคนชั้น ป.3 กับ ป.4 ผสมกัน มีคาบนึงเป็นนักเรียนชั้น ป.1 ทั้งหมดห้าคน คาบนี้นี่ทำเอาฉันหัวหมุนมาก มีเด็กผู้ชายตัวจิ๋วแต่แสบสุดๆ วันแรกนั้นมีคนนึงบอกปวดฉี่ ฉันอนุญาตให้ไปห้องน้ำได้ นางถามห้องน้ำอยู่ไหน (คือเด็ก ป.1 เพิ่งเข้าเรียน ยังไม่รู้จักทางในโรงเรียน) หวางเหล่าซือก็ต้องพานางวิ่งไปห้องน้ำ แล้วรีบวิ่งกลับมาดูนักเรียนที่เหลืออีกสี่คน เจอเจ้าจิ๋วแสบกำลังป่วนเพื่อน แล้ววันแรกนั้นฉันสอนให้ไหว้พร้อมพูดสวัสดีค่ะ/ครับ ฉันก็ให้พูดทีละคน แม่หนูคนนึงไม่ยอมพูด ฉันก็ อะ ไม่เป็นไร แล้วก็ผ่านเธอไปยังหนุ่มน้อยคนสุดท้าย หัดพูดครบแล้วฉันก็สอนต่อ แม่หนูคนนั้น (ชื่อ ‘ชิงฟัง’) เริ่มมีน้ำตาคลอ เล่นเอาฉันตกใจ เอ๊! ตูยังมิได้ทำไรเลยนะ ไหงเป่าปี่ซะแล้วลูกเอ๊ย! พอถามว่า “หนูไม่สบายรึเปล่าคะ” เท่านั้นล่ะ นางปล่อยโฮสะอื้นฮักๆ ตอบว่า “หนูคิดถึงหม่าม้าหนูค่ะ” เวรกรรม โถ ฉันเลยหาทิชชู่ในกระเป๋าเช็ดน้ำตาให้แล้วปลอบว่า “ไม่เป็นไรน้า เดี๋ยวเลิกเรียนแล้วหม่าม้าหนูก็จะมารับ อีกแป๊บเดียวเองนะคะ” แค่สอนวันแรก กลับถึงบ้านนี่ฉันสลบเหมือดเลยค่ะ
แต่พอสอนๆไป ก็มีเรื่องน่ารักๆ ขำๆ ให้บันเทิงดี อย่างหนูชิงฟังในคลาสวันแรกร้องไห้คิดถึงหม่าม้า แต่หลังจากนั้นนางก็เป็นเด็กแฮปปี้ดี๊ด๊า มีอยู่หนนึงเจ้าหนูจอมเฮี้ยวประจำคลาสก็พูดขึ้นมาว่า “เหล่าซือ อั๊วอยากเล่นเกมส์ที่คราวที่แล้วเหล่าซือสอนน่ะ” ฉันก็งงว่าอะไรหว่า ฮีก็จัดการยกมือซ้ายขึ้นมา แล้วก็ใช้นิ้วชี้ขวาจิ้มไปทีละนิ้วพร้อมกับส่งเสียงร้องเป็นจังหวะ (แต่ภาษาอะไรของฮีนี่ เหล่าซือก็ฟังไม่รู้เรื่องเหมือนกันวุ้ย) ฉันเลยถึงบางอ้อว่า ฮีอยากเล่นจ้ำจี้มะเขือเปาะนั่นเอง ก็เลยบอกว่า “ได้ๆ เอ้า! วางมือกันลงมา เอานะ เหล่าซือเริ่มเล่นละนะ…จ้ำจี้มะเขือเปาะ …” ทันทีที่ฉันเริ่มร้องคำว่า จ้ำ ก็มีเสียงใสๆ ของชิงฟังร้องคลอขึ้นมาด้วย…จ้ำจี้มะเขือเปาะ… หวางเหล่าซือก็กรี๊ดสิคะ “อ๊าย! ชิงฟังเก่งมาก จำได้ด้วย!” แถมร้องคู่กะเหล่าซือต่อไปได้อีกว่า “กะเทาะหน้าแว่น พายเรือ อกแอ่น …บุ๋ง บุ๋ง บุ๋ง” นางก็ดำน้ำได้ความไปตลอดจนจบเพลงพร้อมกะฉัน โอ้โฮ! เหล่าซือดีใจและเซอร์ไพรส์สุดๆ จริงๆ ค่ะ ชิงฟังเป็นเด็กชอบร้องเพลง นางร้องได้หมดทั้งจ้ำจี้มะเขือเปาะ จ้ำจี้ผลไม้ เพลงช้างๆๆๆๆ หรือเพลงนับ 1-10 ในภาษาไทย อย่าไปถามความหมายนะ นางตอบไม่รู้ แต่ร้องออกเสียงได้ชัดเจนมาก จำเนื้อเพลงได้ทั้งที่ร้องให้ฟังแค่ครั้งสองครั้ง (ถึงจะมีบุ๋งๆ บ้าง แต่นางบุ๋งได้ใกล้เคียงมาก) แถมสำเนียงก็เป๊ะปานเด็กไทย เลิฟนางเลย
ฮิฮิ
แต่ที่เด็ดสุดคือ มีอยู่วันหนึ่งหนูชิงฟังบอกกะเหล่าซือว่า “เหล่าซือ เย็นนี้จะมีคนไทยมาที่บ้านหนูล่ะ” ก็เลยถามว่า “เขาเป็นใครล่ะ แล้วมาบ้านชิงฟังทำอะไร” ชิงฟังตอบว่า “หนูก็ไม่ค่อยแน่ใจ รู้สึกว่าจะรู้จักกะหม่าม้า เป็นผู้หญิงสาวๆ” เหล่าซือปิ๊งเห็นโอกาสให้ลูกศิษย์ได้ฝึกวิทยายุทธขึ้นมาทันที เลยบอกนางว่า “ถ้างั้นตอนเจอกัน ชิงฟังก็ต้องทักทายแบบไทยนะ ยกมือไหว้แล้วก็พูดว่า สวัส…” ชิงฟังก็พูดตามขึ้นมาทันทีตั้งแต่ที่ฉันเริ่มออกเสียง ว่า… สวัสดีค่ะ คุณครู!! (นึกถึงตอนนางร้องจ้ำจี้มะเขือเปาะตามเลยนะเนี่ย)
“ว๊าย! ไม่ใช่ค่ะ ชิงฟัง คุณครูอยู่นี่นะคะ คุณครูคือคนนี้นะคะ ลูกขา หนูควรพูดว่า สวัสดีค่ะ พี่สาว (เจี่ยเจีย) นะลูกนะ เขาไม่ใช่คุณครูของหนูนะคะ” นางก็พูดตามชัดแจ๋ว “สวัสดีค่ะ พี่สาว” แล้วก็เลยสอนต่อว่า “แล้วถ้าเกิดพี่เขาชมหนูว่า หนูพูดภาษาไทยเก่งจัง หนูก็ต้องบอกเซี่ยเซี่ยะเป็นภาษาไทยนะ จำได้ไหมคะ ต้องพูดว่า ขอบ…” เช่นเคย ที่นางเริ่มพูดตามตั้งแต่เราเริ่มออกเสียง ว่า… ขอบคุณค่ะ คุณครู!! “เฮ้ย!
ชิงฟัง ไม่ใช่สิลูกขา คุณครูคือเหล่าซือนะคะ คุณครูคือคนนี้นะคะ ลูก(พร้อมกับจิ้มหน้าอกตัวเองถี่ยิบ
) เฮ้อ! ไอ้ที่หนูพูดทักทายเวลามาเข้าเรียน กับตอนเลิกเรียนนี่ ตกลงว่าหนูไม่รู้ความหมายใช่ม้ายยยยย โฮ่ย! ท่าทางเหล่าซือต้องหาทางแต่งบทเรียนเป็นเพลงเพื่อสอนนางโดยเฉพาะคนเดียวเลยมั้งเนี่ย
มีอีกรายนึงค่ะ เป็นลูกศิษย์เด็ก ป.6 คนหนึ่งที่ดูท่าทางแล้วนางน่าจะแสบพอควร (คือความรู้สึกของวันแรกที่สอนนางนะคะ) ปกติฉันจะถามความสมัครใจเด็กว่าอยากมีชื่อไทยไหม ถ้าเด็กโอเค ฉันจะเลือกชื่อไทยที่มีเสียงใกล้เคียงกับชื่อภาษาจีนของนักเรียน แล้วก็จะเขียนให้ดูด้วย สำหรับนักเรียนรายนี้ฉันตั้งชื่อให้นางว่า ‘เมตตา’ สอนกันมาเดือนนึง นางก็ถามว่าพิมพ์ไทยยังไงในมือถือ ก็สอนนางไป พอครั้งต่อมาขณะที่สอนกันอยู่ นางจะจดสิ่งที่สอนลงมือถือ นางใส่รหัสปลดล็อกมือถือเป็นชื่อ ‘เมตตา’ ฉันก็เลยถามนางว่า “อ้าว เปลี่ยนพาสเวิร์ดเป็นภาษาไทยแล้วเหรอ” นางตอบว่า “ใช่สิ แบบนี้แม่ก็ไม่สามารถเช็กมือถืออั๊วได้ เพราะแม่ไม่รู้จักภาษาไทย” คุณนายฮวงนี่น่าจะเป็นหมอดูโหงวเฮ้งได้อีกอาชีพนึงนะคะนี่ เพราะนางแสบจริง!
เล่าๆ ให้ฟังแล้วก็คิดถึงอีหนูชิงฟังเหมือนกันนะคะนี่ เพราะปีการศึกษานี้ฉันไม่ได้สอนที่โรงเรียนนั้นแล้วค่ะ ที่บอกเลิกสอนไป เนื่องจากฉันต้องออกจากบ้านตั้งแต่หกโมงครึ่ง เพื่อไปให้ทันสอนตอนแปดโมง คือแถวบ้านฉันเป็น residental area ไม่ถึงเจ็ดโมงดีนี่รถติดกระหน่ำแล้ว จริงๆ นั่งรถไฟฟ้าแค่ 20 นาที เพียงแต่ฉันต้องนั่งรถเมล์ออกไปต่อรถไฟฟ้า ปัญหาอยู่ตรงนี้ล่ะ เลยบอกลา พอดีว่าเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการของไต้หวันได้บรรจุภาษาของประเทศอาเซียนเป็นวิชาให้เลือกเรียนได้ในโรงเรียนประถมทั่วประเทศ โรงเรียนที่แถวบ้านฉันเลยโทร.มาทาบทามให้ฉันไปสอนกันหลายแห่ง แต่ฉันรับแค่สองแห่งที่สังกัดเทศบาลนครไทเป อยู่ไม่ไกลจากบ้านมาก สอนแค่โรงเรียนละคาบต่อสัปดาห์ ค่อยกลับมาใช้ชีวิตสโลว์ไลฟ์ได้หน่อย อิอิ ปีนี้เลยมีนักเรียนให้สอนแค่สองคน โรงเรียนละหนึ่งคน คือตามกฎของกระทรวงศึกษาฯ ถ้ามีนักเรียนสมัครเรียนภาษาไหน แม้ว่าจะแค่คนเดียวก็ตาม ทางโรงเรียนก็ต้องหาครูมาสอน ฟังแล้วอิจฉาเด็กไต้หวันไหมคะ ค่าเทอมก็ไม่ต้องจ่าย มีภาษาทั้งของอาเซียนและภาษาจีนท้องถิ่น (จีนแคะ ไถอวี่) ให้เลือกเรียนได้ตามใจชอบอีก แล้วยังมีภาษาอังกฤษที่บังคับเรียนอยู่ในหลักสูตรอยู่แล้วด้วยนะ
รัฐบาลไต้หวันทุ่มงบทางการศึกษาจริงจังมากค่ะ อย่างน้องคนไทยที่ฉันสนิทด้วยบางคนรับงานช่วยเป็นล่ามให้กับเด็กนักเรียนที่มีพ่อหรือแม่เป็นคนไทย แต่เพิ่งมาเข้าโรงเรียนที่ไต้หวันตอนโตหน่อย เลยพูดภาษาจีนไม่ได้ น้องเขาต้องไปนั่งประกบเป็นล่ามแปลให้เด็กเวลาครูสอนในชั้นเรียน ดูสิคะเกาะนี้ให้ความสำคัญกับการศึกษาขนาดนี้เลยนะ ฉันไม่แปลกใจเลยที่ประเทศนี้มีประชาชนที่ทำชื่อเสียงให้ประเทศชาติหลายคน ไม่ว่าจะเป็นนักเบสบอลที่ถูกซื้อตัวไปเล่นให้เมเจอร์ลีกของอเมริกาหรือญี่ปุ่น นักไวโอลินตัวน้อยที่ก้าวไปแข่งในเวทีระดับโลก โดยได้รับการสนับสนุนจากมหาเศรษฐีชาวไต้หวันให้ยืมไวโอลินที่เขาสะสมไว้เอาไปแข่ง ตัวนึงราคาเป็นล้านเชียวนะ หรือแม้แต่นักวิชาการที่เคยได้รางวัลโนเบลก็มีค่ะ เท่าที่สังเกตมาตลอดเวลาที่ใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ ถ้าเด็กมีความสนใจและพรสวรรค์จริงๆ จะได้รับการสนับสนุนทั้งจากภาครัฐหรือภาคเอกชน ให้มีโอกาสเรียนรู้ฝึกฝนในสิ่งที่รัก เพื่อทำชื่อเสียงให้กับประเทศ ไม่ใช่แค่ภาครัฐที่ให้การสนับสนุน ภาคเอกชนก็ให้ด้วย ตรงนี้ล่ะค่ะที่ถูกใจฉัน
- READ 台灣飲食系列展 - ไถวันอิ่นสือซี่เลี่ยจั่น
- READ 大稻埕+迪化街 - ต้าเต้าเฉิง+ตี๋ฮว้าเจีย
- READ 基隆塔 - จีหลงถ่า
- READ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า
- READ เป็ดปักกิ่งสไตล์ไต้หวัน กับ 農曆 (หนงลี่)
- READ "Meet Warbie" เมื่อคุณนายฮวงปะทะเจ้านกอ้วนจอมกวน
- READ Road Trip 1 : หรรษา 阿里山 - อาลีซัน (Alishan)
- READ Road Trip 2 : ดูโบสถ์ ชมงานศิลป์ ฟินธรรมชาติ
- READ "擂茶 - เหลยฉา" ของดีมีทีเด็ดที่ประโยชน์เต็มคำ
- READ "Before I Fall in Love" 李玟 - หลี่เหวิน
- READ 國家太空中心 - กั๋วเจียไท่คงจงซิน
- READ ‘台菜 – ไถไช่
- READ 同性婚姻 - ถงซิ่งฮุนอิน
- READ 情人湖 - ฉิงเหรินหู
- READ 糧食危機 - เหลียงสือเหวยจี
- READ One fine day กับ 烏骨雞
- READ 螢火蟲 - อิ๋งหั่วฉง
- READ 千島湖 - เชียนเต่าหู
- READ 陽明書屋 - หยังหมิงซูอู
- READ 媽祖 - มาจู่
- READ 世界棒球經典賽 - ซื่อเจี้ยปั้งฉิวจิงเตี่ยนไซ่
- READ 台灣燈會 - ไถวันเติงหุ้ย
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 3)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 2)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 1)
- READ 利息 - ลี่สี
- READ 中藥 - จงเอี้ยว
- READ 剪纸 - เจี่ยนจื่อ
- READ 市長 - ซื่อจั่ง
- READ หวังอยู่ - 王羽
- READ 大同電鍋 - ต้าถงเตี้ยนกัว
- READ ภาษาดอกไม้
- READ 隔離 - กักตัว (2)
- READ 隔離 - กักตัว
- READ 虎爺 - เทพเสือ
- READ ดอกไม้โปรดเจียงไคเช็ค
- READ 核能電廠 - เหอเหนิงเตี้ยนฉั่ง
- READ จากถ้ำสู่วัง
- READ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน
- READ 針灸 - เจินจิว
- READ ทัวร์กินทิพย์กับ 3 ร้านบ้านๆ
- READ 氣象先生 - ชี่เซี่ยงเซียนเซิง
- READ Mommy and Uan (1) : How a stray dog has changed my life
- READ Mommy and Uan (2) : Unconditional love
- READ วัคซีนแห่งความเสียสละ
- READ ซอกแซกแถวตั้นสุ่ย
- READ ย่ำกรุงเก่าไต้หวัน
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (1)
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (2)
- READ ถามหาไต้ฝุ่น
- READ 財神 – ไฉเสิน
- READ 累積點數 - เหล่ยจีเตี่ยนซู่
- READ พาคุณชายไปเที่ยว
- READ 圖書館 - ถูซูกวั่น
- READ 麻辣 - หมาล่า
- READ 茶入菜 - ฉารู่ไช่
- READ 三合院 - ซันเหอเยวี้ยน
- READ 梅花 - เหมยฮวา
- READ 茶花 - ฉาฮวา
- READ 溫泉 - เวินเฉวียน
- READ คุณหมอนักเขียน
- READ 冬至 - ตงจื้อ
- READ 鄭和 - เจิ้งเหอ
- READ ของกินเฉพาะฤดูหนาว
- READ 土地公 - ถู่ตี้กง
- READ คุณนายฮวงชวนชิม
- READ 護身符 - หู้เซินฝู
- READ 臺北市動物保護處 - ไถเป่ยซื่อต้งอู้เป่าหู้ฉู้
- READ 基隆廟口夜市 - จีหลงเมี่ยวโข่วเย่ซื่อ
- READ 水燈節 - สุ่ยเติงเจี๋ย
- READ 身份證 - เซินเฟินเจิ้ง
- READ 旗袍 - ฉีเผา
- READ 萬安演習 - วั้นอันเอี่ยนสี
- READ 婚禮 - ฮุนหลี่
- READ Give me an inhalant please!
- READ เที่ยวฟาร์มออร์แกนิก
- READ ชาวสีรุ้ง
- READ 中秋節 - จงชิวเจี๋ย
- READ ชีวิตคนเดินดิน
- READ 湘菜 - เซียงไช่
- READ ข่าวจากสำนักข่าวคุณนายฮวง ณ ไทเป
- READ Discovery Center of Taipei City
- READ 月下老人 - เยว่เซี่ยเหล่าเหริน
- READ In and Out
- READ 情人節 - ฉิงเหรินเจี๋ย
- READ 鬼月 - กุ่ยเยว่
- READ โบกมือลา
- READ มังกรนำทาง
- READ เขาดินไทเป
- READ 快炒 - ไคว่เฉ่า
- READ หนีร้อนไปพึ่งเย็น
- READ เกี๊ยว
- READ เจ่าชัน -早餐
- READ Beyond Beauty : Taiwan from Above
- READ ตั้งไข่ (ไม่) ล้ม
- READ เกาหลิงฮว้าเซ่อหุ้ย
- READ วัด วัด วัด
- READ Old Normal
- READ ภาษาจีนวันละหลายคำ
- READ Portable Bubble Milk Tea
- READ Snow Flower
- READ Birthday Snippets
- READ มังกรโบราณ
- READ ภาษาจีนวันละคำ
- READ ชิงหมิงเจี๋ย
- READ ซ่งไอ่หลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องความสวยงาม
- READ ซ่งชิ่งหลิง
- READ ไวรัสหลายชื่อ
- READ ซ่งเหม่ยหลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องชา (tea นะจ๊ะ มิใช่เหน็บชา
)
- READ แม่ค้าผักผู้ยิ่งใหญ่
- READ อาหารเพื่อสุขภาพ
- READ เด็กที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ
- READ Jimmy Liao
- READ ระบอบการปกครองของไต้หวัน
- READ หยวนเซียวเจี๋ย
- READ เอนหลังนั่งคุยเรื่อง 'ตรุษจีน'
- READ ศูนย์พักฟื้นหลังคลอดบุตร
- READ มูลนิธิฉือจี้
- READ 7 - ELEVEN
- READ สีสันบันเทิงฉบับไต้หวัน
- READ เรื่องของศิลปะและวัฒนธรรม
- READ ตัวอักษรจีน
- READ ไปตลาดกันดีกว่า
- READ หวางเหล่าซือ
- READ ทีวีไต้หวัน
- READ Mommy and Uan
- READ ไต้หวันรักษ์โลก
- READ ล็อตเตอรี่ใบเสร็จรับเงิน
- READ Hiking
- READ ภัยธรรมชาติประจำเกาะ
- READ อาหารการกินในไต้หวัน
- READ ชีวิตในไต้หวัน
- READ โรงเรียนในไต้หวัน
- READ ระบบขนส่งมวลชนไต้หวัน
- READ Lost in Translation
- READ บ้านในไต้หวัน 2
- READ บทนำ
- READ คนไต้หวัน
- READ บ้านในไต้หวัน 1