7 – ELEVEN
โดย : คุณนายฮวง
นอกจาก นิยายออนไลน์ สนุกๆ แล้ว อ่านเอา ยังมีคอลัมน์ ‘(เรื่องเล่า) 6,200 วันในไต้หวัน’ โดย คุณนายฮวง สาวไทยสุดไฮเปอร์ที่จับพลัดจับผลูมาอยู่ไทเปได้หลายปีดีดักกับเรื่องเล่าเกี่ยวกับการใช้ชีวิตต่างแดนที่เต็มไปด้วยสีสันและมุมมองหลากหลาย เรื่องราวดีๆ ที่ อ่านเอา อยากให้คุณได้ อ่านออนไลน์
***********************************
– 7 – ELEVEN –
เห็นหัวข้อนี้แล้วงงไหม เอ! ภาษาไทยเรียกว่า ‘ร้านสะดวกซื้อ’ ใช่ไหมคะ สืบเนื่องจากเห็นโฆษณาขายปลากัดใน LINE โดยโทร.สั่งซื้อได้ที่ Call Center มีเบอร์โทร.ให้เรียบร้อย และส่งของให้ที่ร้าน 7-Eleven ทั่วประเทศ เลยทำให้นึกถึงตอนมาถึงเกาะนี้ใหม่ๆ แล้วก็นึกขำตัวเองว่าตอนนั้นช่างบ้านน้อกบ้านนอก ต้องขอออกตัวก่อนว่า ฉันไม่ได้อยู่เมืองไทยมายี่สิบกว่าปีแล้ว ตอนที่ออกจากเมืองไทยนั้น ร้านประเภทนี้ยังไม่แพร่หลายเท่าในปัจจุบัน อย่างน้อยคือแถวเยาวราชนี่ไม่มีให้เห็นเท่าไหร่ (ต้องเข้าใจนะคะว่าฉันคือกบในไชน่าทาวน์😅) อเมริกาก็ไม่มี แถมร้านค้าปิดร้านกันเร็วอีก พอมาอยู่ไต้หวัน โอ้โฮ สี่ทุ่มยังคึกคัก ร้านสะดวกซื้อเยอะแยะเปิดกัน 24 ชั่วโมง ตื่นตาตื่นใจเสียนี่กระไร ไม่ใช่แค่ฉันที่ตื่นตานะ เคยเห็นข่าวเด็ก ABC (American Born Chinese) ที่มีเชื้อสายไต้หวัน พ่อแม่พากลับมาเยี่ยมญาติ ตื่นเต้นกรี๊ดกร๊าดกับร้านเซเว่นฯ ที่นี่มาก ชอบที่สุดคือหิวเมื่อไร ดึกดื่นแค่ไหน เดินเข้าเซเว่นก็มีของกินให้กินได้ตลอดเวลา บอกว่าอเมริกาสู้ไม่ได้เลย ไทเปนี่สวรรค์ชัดๆ ฉันขำจริงๆ (ดีใจที่มีเพื่อนน่ะ ฮิฮิ)
ที่ไต้หวันมีร้านสะดวกซื้อทั้งหมด 4 ยี่ห้อ ที่ใหญ่มีสาขามากสุด เห็นได้แทบทุกหัวถนน ก็ได้แก่ 7-Eleven นี่ล่ะค่ะ รองลงมาก็ Family Mart ส่วน OK Mart กับ Hi-Life น่าจะสูสีกัน เพราะไม่ค่อยเห็นสองร้านนี่เท่าไหร่ ตอนที่มาถึงไต้หวันใหม่ๆ ฉันนึกขำๆ บอกตัวเองว่าคงยึดเอา 7-Eleven เป็นจุดช่วยจำทางไม่ได้นะ เพราะมันมีอยู่ทุกหัวถนน อย่างที่ถนนหน้าคอนโดฯ ฉัน (ถนนหลักที่พูดถึงในบทไปตลาดฯ นั่นล่ะ) จากแยกไฟแดงไฟเขียวหนึ่งถึงอีกแยกหนึ่ง ระยะไม่ถึง 500 เมตรดี ก็มี 7-Eleven คุมกันอยู่ที่คนละหัวถนนแล้วล่ะค่ะ หุ หุ นี่ยังไม่นับตรงกลางที่มี Family Mart กับ OK Mart ตั้งแทรกตัวดักผู้ซื้ออยู่อีกด้วย แหม ฉันว่าต้องเรียก ร้านสะดวก ‘ผู้ซื้อ’ ซะล่ะมั้ง เดินไม่กี่ก้าวก็เจอไปโม้ดเลย
แต่ฉันต้องยอมรับว่าเซเว่นฯ (ขอเรียกแทนคำว่าร้านสะดวกซื้อแล้วกันนะคะ) มีบทบาทในชีวิตประจำวันคนไต้หวันอย่างมากๆ ค่ะ หิวข้าวหิวน้ำก็เข้าเซเว่นฯ จ่ายค่าน้ำค่าไฟค่าแก๊สค่าโทรศัพท์ก็ไปเซเว่นฯ จ่ายค่าเครดิตการ์ดก็จ่ายที่เซเว่นฯ ส่งเสื้อซักรีดซักแห้งก็เซเว่นฯ อีก!! หรือแม้แต่โดนใบสั่ง ก็ไม่ต้องไปโรงพักให้วุ่นวาย เดินเข้าเซเว่นฯ จ่ายค่าปรับแบบสบายๆ อีกเหมือนกัน!!! อุ้! แม่เจ้าประคุณเอ๋ย สโลแกนคงเป็น ‘คิดไม่ออก บอกเซเว่นฯ’ แหงมๆ😆 ตอนนี้ก็เห็นมีทั้งกาแฟสด ชานมไข่มุก (ทำสดๆ ตรงเคาน์เตอร์เลย) อีก แล้วถ้าสั่งซื้อของออนไลน์ราคาแค่ร้อยสองร้อย ไม่อยากจ่ายค่าส่ง ก็สามารถสั่งให้ส่งที่ร้านสะดวกซื้อแถวบ้านได้ แล้วก็มารับของไปเอง ฉันเคยซื้อตั๋วคอนเสิร์ตของ เคนนี โรเจอร์ส ซื้อทางเว็บไซต์ จากนั้นถึงวันที่เขากำหนดว่ารับตั๋วได้ คุณชายก็เดินเข้าเซเว่นฯ ใกล้บ้าน สั่งพิมพ์ตั๋วคอนเสิร์ตออกมาจากเครื่องสารพัดประโยชน์ในร้านนั่นแหละ (จริงๆ เครื่องนั้นเขามีชื่อเสียงเรียงนามว่า ibon ค่ะ) ยังไม่หมดค่ะ ที่เซเว่นฯ มีบริการที่สะดวกสำหรับเจ้าของร้านอาหารเล็กๆ (จะกิจการประเภทไหนก็ได้ค่ะ ไม่เฉพาะร้านอาหารหรอก) สามารถไปพิมพ์เมนูอาหารที่ออกแบบเองด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องไปสั่งโรงพิมพ์ให้วุ่นวาย พิมพ์ออกมาสี่สีสวยสดงดงามไม่แพ้โรงพิมพ์เลยค่ะ เห็นไหมคะว่าขาดเซเว่นฯ ล่ะก็ ชีวิตคนที่นี่คงไม่มีความสะดวกเอาเลย เอ! หรือสโลแกนควรจะเป็น ‘วันใดขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก!’ ดีหว่า😄
จริงๆ นะคะ โดยเฉพาะถ้าเป็นบริเวณที่มีอาคารสำนักงานอยู่เยอะๆ ตอนที่ฉันสอนอยู่ที่โรงเรียนแถวตึกไทเป 101 ตรงปากซอยโรงเรียนมีอาคารสำนักงานตั้งอยู่ มีร้านเซเว่นฯ ตั้งอยู่ชั้นล่างของตึก สาขานี้ใหญ่มากค่ะ มีโต๊ะเก้าอี้ให้นั่งกินได้ น่าจะจุคนได้สัก 40-50 คนทีเดียว ปกติฉันจะไปนั่งรอเวลาที่โรงเรียนเปิดประตูตอนเช้า (โรงเรียนเข้าแปดโมง แต่ประตูโรงเรียนเปิดให้เด็กเข้าได้ตอนเจ็ดโมงครึ่ง) มีผู้ปกครองพาลูกมาซื้ออาหารเช้าในร้านนี้กินก็หลายราย แต่ฉันเป็นพวกไม่นิยมกินของในร้านสะดวกซื้อ จึงไม่เคยเข้าไปตอนพักเที่ยง มีอยู่วันหนึ่งช่วงพักกลางวัน ฉันกะว่าจะซื้อขนมปังจากร้านเซเว่นฯ กินสักชิ้นรองท้องแล้วจะรีบไปธุระ พอเข้าไปถึง อึ้งเลย ขนมปังในส่วนที่เป็นฝั่งเบเกอรีหมดเกลี้ยงตู้ แต่ละถาดในนั้นว่างเปล่าเหลือแต่ป้ายชื่อขนมปังแปะอยู่ ไม่เห็นแม้แต่วิญญาณขนมปัง เอ้า งั้นไปดูพวกของร้อนๆ ซาลาเปา มันเผา ไข่ต้มใบชา กวนตงจู่ (คือพวกลูกชิ้น หรืออาหารอื่นๆ เสียบไม้ต้มอยู่ในหม้อน้ำซุป) หมดเกลี้ยงอีกเหมือนกัน ส่วนพวกอาหารสำเร็จรูปที่มีเตาไมโครเวฟตั้งไว้ให้อุ่นเองก็หมดเช่นกัน เด็กพนักงานกำลังไปขนของกินทั้งหลายมาใหม่ เพื่อจะเติมทุกอย่างให้เต็ม มองไปที่แถวเข้าคิวรออุ่นอาหารไมโครเวฟ คนยืนกันยาวเหยียดทุกแถว แถวตรงแคชเชียร์ยิ่งหนัก มีกี่แถวก็ยืนเลื้อยเป็นหางว่าวรอเข้าคิวจ่ายเงินกัน คุณนายฮวงเลยต้องโบกมือลา นึกว่าจะได้อุดหนุนเซเว่นฯ ที่มาอาศัยนั่งรอเวลาสอน แถมใช้บริการห้องน้ำของเขาอยู่ประจำเสียหน่อย เลยอด ไม่ได้ตอบแทนบุญคุณกันเลย😅
ร้านเซเว่นฯ ที่นี่ จะต้องมีโต๊ะเก้าอี้ให้คนนั่งกินกันได้ค่ะ กฎหมายบังคับ บางแห่งถ้าพื้นที่อำนวยก็จะทำทางลาดสำหรับผู้พิการนั่งรถเข็นเข้าร้านได้สะดวกอีกด้วย บางสาขานี่แต่งร้านได้แบบกิ๊บเก๋ชนิดน้องๆ คอฟฟี่ช็อปเชียวนะคะ ห้องน้ำก็สะอาดสะอ้าน ไม่ต้องไปนัดกันร้านสตาร์บัคส์หรอก มาเซเว่นฯ ดีกว่า กาแฟถูกกว่าจมเลย ของกินก็หลากหลายมีให้เลือกเยอะกว่าด้วย ฮ่าๆๆ ที่จริงฉันก็ไม่เคยนัดใครที่ร้านกาแฟนะ เพราะไม่ใช่นัก ‘เจี๊ยะโกปี๊’ สตาร์บัคส์นี่ก็เข้าแบบนับครั้งได้ ส่วนใหญ่ถ้าเข้าก็เพราะคุณชายนั่นล่ะ อันนี้แค่แนะนำเฉยๆ ค่ะ อิอิ
ถ้าฉันจำไม่ผิด รู้สึกว่าเซเว่นฯ ที่เมืองไทยคิดค่าบริการสำหรับเรื่องชำระเงินสารพัดค่าทั้งหลายใช่ไหมคะ เห็นพี่สาวเคยบอกตั้งแต่ตอนสิบกว่าปีก่อนนะ (ตอนนี้ยังต้องเสียอยู่ไหมคะ) พออพยพมาอยู่ไต้หวัน คุณชายบอกไปจ่ายค่าน้ำค่าไฟที่เซเว่นฯ กันเถิด ฉันก็นึกในใจว่าคงต้องจ่ายค่าบริการให้ร้านเนอะ แต่ที่นี่ไม่ต้องจ่ายค่ะ บิลมาเท่าไหร่ ก็จ่ายเท่านั้น อุ๊ย ดีจัง ชอบๆๆ😉 จะมีคิดค่าบริการการจ่ายเงินผ่านเซเว่นฯ ก็มีค่าประกันสังคมของคนที่ไม่ได้ทำงานอย่างฉันเนี่ยล่ะค่ะ (เรียกว่า ‘กั๋วเป่า’) ซึ่งเรียกเก็บทุกสองเดือน ถ้าไปจ่ายที่ไปรษณีย์ก็ไม่ต้องเสียค่าบริการ แต่ถ้าจ่ายที่เซเว่นฯ ต้องจ่ายเพิ่มสามดอลลาร์ ซึ่งถูกมากๆ จำได้ว่าเคยจ่ายค่าภาษีรถผ่านเซเว่นฯ ด้วยนะ ก็มีจ่ายค่าบริการเพิ่มนิดหน่อย คือเดี๋ยวนี้ คุณชายเธอจัดการทุกอย่างเองน่ะ ฉันก็เลยไม่ค่อยได้ไปเซเว่นฯ แล้ว จะมีก็ค่าส่วนกลางของคอนโดฯ ที่อยู่ตอนนี้ล่ะ ที่บางทีฉันเป็นคนเดินไปจ่ายบ้าง อ้อ! ลืมบอกไป แล้วถ้าเครดิตการ์ดนิดๆ หน่อยๆ จ่ายที่เซเว่นฯ ได้ คือถ้ายอดใช้จ่ายไม่ถึงสองหมื่นก็จ่ายที่เซเว่นฯ ได้ เกินสองหมื่นเซเว่นฯ ไม่รับ ค่าบริการใดๆ ก็ไม่ต้องจ่ายเพิ่มเหมือนกัน นี่ล่ะค่ะ ที่บอกว่าชีวิตคนไต้หวันแทบจะผูกไว้กับเซเว่นฯ เอ๊ย! ไม่ใช่ ต้องบอกว่าผูกไว้กับร้านสะดวกซื้อ แหม ก็เดี๋ยว Family Mart กะ OK Mart แล้วก็ Hi-Life ด้วย เขาจะน้อยใจเอา😊
- READ 台灣飲食系列展 - ไถวันอิ่นสือซี่เลี่ยจั่น
- READ 大稻埕+迪化街 - ต้าเต้าเฉิง+ตี๋ฮว้าเจีย
- READ 基隆塔 - จีหลงถ่า
- READ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า
- READ เป็ดปักกิ่งสไตล์ไต้หวัน กับ 農曆 (หนงลี่)
- READ "Meet Warbie" เมื่อคุณนายฮวงปะทะเจ้านกอ้วนจอมกวน
- READ Road Trip 1 : หรรษา 阿里山 - อาลีซัน (Alishan)
- READ Road Trip 2 : ดูโบสถ์ ชมงานศิลป์ ฟินธรรมชาติ
- READ "擂茶 - เหลยฉา" ของดีมีทีเด็ดที่ประโยชน์เต็มคำ
- READ "Before I Fall in Love" 李玟 - หลี่เหวิน
- READ 國家太空中心 - กั๋วเจียไท่คงจงซิน
- READ ‘台菜 – ไถไช่
- READ 同性婚姻 - ถงซิ่งฮุนอิน
- READ 情人湖 - ฉิงเหรินหู
- READ 糧食危機 - เหลียงสือเหวยจี
- READ One fine day กับ 烏骨雞
- READ 螢火蟲 - อิ๋งหั่วฉง
- READ 千島湖 - เชียนเต่าหู
- READ 陽明書屋 - หยังหมิงซูอู
- READ 媽祖 - มาจู่
- READ 世界棒球經典賽 - ซื่อเจี้ยปั้งฉิวจิงเตี่ยนไซ่
- READ 台灣燈會 - ไถวันเติงหุ้ย
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 3)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 2)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 1)
- READ 利息 - ลี่สี
- READ 中藥 - จงเอี้ยว
- READ 剪纸 - เจี่ยนจื่อ
- READ 市長 - ซื่อจั่ง
- READ หวังอยู่ - 王羽
- READ 大同電鍋 - ต้าถงเตี้ยนกัว
- READ ภาษาดอกไม้
- READ 隔離 - กักตัว (2)
- READ 隔離 - กักตัว
- READ 虎爺 - เทพเสือ
- READ ดอกไม้โปรดเจียงไคเช็ค
- READ 核能電廠 - เหอเหนิงเตี้ยนฉั่ง
- READ จากถ้ำสู่วัง
- READ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน
- READ 針灸 - เจินจิว
- READ ทัวร์กินทิพย์กับ 3 ร้านบ้านๆ
- READ 氣象先生 - ชี่เซี่ยงเซียนเซิง
- READ Mommy and Uan (1) : How a stray dog has changed my life
- READ Mommy and Uan (2) : Unconditional love
- READ วัคซีนแห่งความเสียสละ
- READ ซอกแซกแถวตั้นสุ่ย
- READ ย่ำกรุงเก่าไต้หวัน
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (1)
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (2)
- READ ถามหาไต้ฝุ่น
- READ 財神 – ไฉเสิน
- READ 累積點數 - เหล่ยจีเตี่ยนซู่
- READ พาคุณชายไปเที่ยว
- READ 圖書館 - ถูซูกวั่น
- READ 麻辣 - หมาล่า
- READ 茶入菜 - ฉารู่ไช่
- READ 三合院 - ซันเหอเยวี้ยน
- READ 梅花 - เหมยฮวา
- READ 茶花 - ฉาฮวา
- READ 溫泉 - เวินเฉวียน
- READ คุณหมอนักเขียน
- READ 冬至 - ตงจื้อ
- READ 鄭和 - เจิ้งเหอ
- READ ของกินเฉพาะฤดูหนาว
- READ 土地公 - ถู่ตี้กง
- READ คุณนายฮวงชวนชิม
- READ 護身符 - หู้เซินฝู
- READ 臺北市動物保護處 - ไถเป่ยซื่อต้งอู้เป่าหู้ฉู้
- READ 基隆廟口夜市 - จีหลงเมี่ยวโข่วเย่ซื่อ
- READ 水燈節 - สุ่ยเติงเจี๋ย
- READ 身份證 - เซินเฟินเจิ้ง
- READ 旗袍 - ฉีเผา
- READ 萬安演習 - วั้นอันเอี่ยนสี
- READ 婚禮 - ฮุนหลี่
- READ Give me an inhalant please!
- READ เที่ยวฟาร์มออร์แกนิก
- READ ชาวสีรุ้ง
- READ 中秋節 - จงชิวเจี๋ย
- READ ชีวิตคนเดินดิน
- READ 湘菜 - เซียงไช่
- READ ข่าวจากสำนักข่าวคุณนายฮวง ณ ไทเป
- READ Discovery Center of Taipei City
- READ 月下老人 - เยว่เซี่ยเหล่าเหริน
- READ In and Out
- READ 情人節 - ฉิงเหรินเจี๋ย
- READ 鬼月 - กุ่ยเยว่
- READ โบกมือลา
- READ มังกรนำทาง
- READ เขาดินไทเป
- READ 快炒 - ไคว่เฉ่า
- READ หนีร้อนไปพึ่งเย็น
- READ เกี๊ยว
- READ เจ่าชัน -早餐
- READ Beyond Beauty : Taiwan from Above
- READ ตั้งไข่ (ไม่) ล้ม
- READ เกาหลิงฮว้าเซ่อหุ้ย
- READ วัด วัด วัด
- READ Old Normal
- READ ภาษาจีนวันละหลายคำ
- READ Portable Bubble Milk Tea
- READ Snow Flower
- READ Birthday Snippets
- READ มังกรโบราณ
- READ ภาษาจีนวันละคำ
- READ ชิงหมิงเจี๋ย
- READ ซ่งไอ่หลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องความสวยงาม
- READ ซ่งชิ่งหลิง
- READ ไวรัสหลายชื่อ
- READ ซ่งเหม่ยหลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องชา (tea นะจ๊ะ มิใช่เหน็บชา😊)
- READ แม่ค้าผักผู้ยิ่งใหญ่
- READ อาหารเพื่อสุขภาพ
- READ เด็กที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ
- READ Jimmy Liao
- READ ระบอบการปกครองของไต้หวัน
- READ หยวนเซียวเจี๋ย
- READ เอนหลังนั่งคุยเรื่อง 'ตรุษจีน'
- READ ศูนย์พักฟื้นหลังคลอดบุตร
- READ มูลนิธิฉือจี้
- READ 7 - ELEVEN
- READ สีสันบันเทิงฉบับไต้หวัน
- READ เรื่องของศิลปะและวัฒนธรรม
- READ ตัวอักษรจีน
- READ ไปตลาดกันดีกว่า
- READ หวางเหล่าซือ
- READ ทีวีไต้หวัน
- READ Mommy and Uan
- READ ไต้หวันรักษ์โลก
- READ ล็อตเตอรี่ใบเสร็จรับเงิน
- READ Hiking
- READ ภัยธรรมชาติประจำเกาะ
- READ อาหารการกินในไต้หวัน
- READ ชีวิตในไต้หวัน
- READ โรงเรียนในไต้หวัน
- READ ระบบขนส่งมวลชนไต้หวัน
- READ Lost in Translation
- READ บ้านในไต้หวัน 2
- READ บทนำ
- READ คนไต้หวัน
- READ บ้านในไต้หวัน 1