ไวรัสหลายชื่อ
โดย : คุณนายฮวง
นอกจาก นิยายออนไลน์ สนุกๆ แล้ว อ่านเอา ยังมีคอลัมน์ ‘(เรื่องเล่า) 6,200 วันในไต้หวัน’ โดย คุณนายฮวง สาวไทยสุดไฮเปอร์ที่จับพลัดจับผลูมาอยู่ไทเปได้หลายปีดีดักกับเรื่องเล่าเกี่ยวกับการใช้ชีวิตต่างแดนที่เต็มไปด้วยสีสันและมุมมองหลากหลาย เรื่องราวดีๆ ที่ อ่านเอา อยากให้คุณได้ อ่านออนไลน์
***********************************
-ไวรัสหลายชื่อ -
มาถึงตอนนี้ สถานการณ์เรื่องไวรัสสายพันธุ์ใหม่ตัวที่กำลังก่อปัญหาไปทั่วโลก ก็เป็นไปอย่างที่ฉันสังหรณ์ใจตั้งแต่เห็นข่าวในทีวีครั้งแรกเมื่อราวๆ ใกล้จะสิ้นปี 2019 จริงๆ (ซื้อหวยไม่เห็นเคยถูกอย่างนี้ซะที😏) เพราะพอได้ยินว่าอาการใกล้เคียง SARS ปุ๊บ สังหรณ์มันแวบขึ้นมาปั๊บเลย ก็ปี 2003 คุณชายเพิ่งไปรับตัวฉันมาจากกรุงเทพฯ มาถึงได้ไม่ทันชมเมืองสักเท่าไหร่ ก็ต้องติดแหง็กอยู่ในบ้าน เพราะเจ้าโรคระบาด SARS นี่ล่ะ แล้วทีวีก็มีแต่ข่าว SARS ให้จิตตกเหมือนกันกับตอนนี้เลย ตอนนั้นสถานการณ์การระบาดหนักหนาเอาการในไทเป จำได้ว่าเทศบาลนครไทเปจัดการจำกัดให้โรงพยาบาลเหอผิงเป็นศูนย์รับรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะ วุ่นวายกันพอสมควร ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้นก็ประท้วงกัน ไม่พอใจที่เอาคนป่วยมาไว้ใกล้ๆ พวกเขา หุ้นเหิ้นตกกันระนาว เศรษฐกิจพาลแย่ไปด้วย ครั้งนั้นต้นกำเนิดเริ่มจากมณฑลกวางตุ้ง ที่มีชายแดนต่อกับฮ่องกง แล้วฮ่องกง-ไต้หวันก็ใกล้กันนิดเดียว คนเดินทางไปมากันเยอะ เลยแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วมาก
หลังจากที่ผ่านประสบการณ์ครั้งนั้นมาแล้ว ดูเหมือนหนนี้ไต้หวันเลยมีวิธีรับมือได้ดีขึ้น เพราะพอมีข่าวออกมาว่ามีผู้ป่วยอาการคล้าย SARS ที่อู่ฮั่น (ช่วงนั้นให้เรียกว่าโรคปอดบวมอู่ฮั่น) ก็มีการตั้งจุดตรวจเช็คที่สนามบินทันที โดยวันที่ 31 ธันวาคม 2019 พบผู้โดยสารของไฟลต์มาจากอู่ฮั่นมีไข้ จึงมีการกักตัวเพื่อสังเกตอาการ จนกระทั่งมั่นใจว่าไม่ใช่แน่ๆ จึงให้กลับบ้านได้ แต่ยังต้องอยู่ภายใต้การสังเกตการณ์ต่อไป ทางกองควบคุมโรคของไต้หวัน – Taiwan’s Centers for Disease Control (CDC) ได้จัดตั้งศูนย์ควบคุมการแพร่ระบาด (Epidemic Response Command Center) ขึ้นเป็นหน่วยเฉพาะกิจ เพื่อดูแลจับตาสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในอู่ฮั่น จะได้หามาตรการป้องกันให้ทันท่วงที นอกจากนี้ทางกองยังได้พยายามศึกษาวิเคราะห์ไวรัสที่ได้ชื่อใหม่ว่า 2019 Novel Coronavirus (2019-nCoV) ประมาณว่าแทบจะถอดรหัสโครโมโซมกันเลยทีเดียว โดยอาศัยข้อมูลจากที่ทางจีนให้มา พร้อมๆ ไปกับการพัฒนาระบบตรวจเช็กไวรัสตัวใหม่นี้ให้รู้ผลได้ภายในสี่ชั่วโมง แถมออกประกาศเตือนพวกชอบปล่อยข่าวลือให้ประชาชนแตกตื่นกัน ถ้าปล่อยข่าวปลอมอาจเจอโทษปรับสูงสุดถึง 3 ล้านหยวน ซึ่งถูกใจฉันจริงๆ พวกชอบปล่อยข่าวปลอมเนี่ยควรเจอมาตรการแบบนี้ซะมั่ง
งวดนี้กองควบคุมโรคติดต่อทำงานรวดเร็วจริงๆ ค่ะ นอกจากมาตรการทั้งหลายที่กล่าวมาแล้ว แน่นอนค่ะว่ามีการยิงสปอตทางทีวีถี่ยิบ บอกวิธีที่ประชาชนควรปฏิบัติ เพื่อป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อ ให้พวกคนขับแท็กซี่เช็กอุณหภูมิตัวเองทุกวัน ต้องมีกระป๋องแอลกอฮอล์ไว้พ่นเช็ดทำความสะอาดภายในรถหรือที่จับเปิดประตูรถบ่อยๆ ใส่มาสก์ไว้ขณะขับรถส่งผู้โดยสาร แล้วก็มีการออกประกาศเตือนผู้ที่จะเดินทางออกนอกประเทศในช่วงตรุษจีนว่า ควรปฏิบัติตัวยังไง มีประเทศไหนที่ควรระวัง เพราะปกติช่วงวันหยุดยาวตรุษจีน ชาวไต้หวันนิยมออกไปเที่ยวต่างประเทศกัน ช่วงนี้ชาวไต้หวันเลยเห็นหน้าผู้อำนวยการกองควบคุมโรคของไต้หวันทุกวันทางข่าวทีวี เพราะอาเฮียแกกระโดลงมาเป็นผู้บัญชาการศูนย์ควบคุมการแพร่ระบาดซะเอง มีการปรับยุทธวิธีออกมาตรการใหม่ๆ เพื่อรับมือสถานการณ์กันแบบรายวัน
เริ่มตั้งแต่การตั้งจุดคัดกรองที่สนามบินอย่างที่เล่าไปตอนต้น แล้วก็เรื่องสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งคือ การควบคุมการซื้อ-ขายมาสก์สำหรับคาดปิดจมูก-ปากกัน ตอนสมัยซาร์สฉันจำได้ว่า กว่าจะหามาสก์แบบ N-95 ได้ เล่นเอาวุ่นพอดู คุณชายต้องไปวานเพื่อนที่ทำงานอยู่กระทรวงสาธารณสุขซื้อมาใช้ สิบเจ็ดปีให้หลังรัฐบาลรู้งานแล้ว ออกมาตรการแรกสุดคือให้ซื้อมาสก์ได้ที่ตามร้านสะดวกซื้อ แต่ละคนสามารถซื้อได้แค่สองชิ้นต่อครั้ง ตานี้ก็มีพวกหัวไว ใช้วิธีเวียนซื้อมันหลายๆ รอบ ก็เลยต้องออกมาตรการใหม่ออกมาว่า ให้ไปซื้อได้ที่ร้านขายยาที่รัฐกำหนด (มีเป็นหลายพันร้านทั่วเกาะ) แต่ต้องแสดงบัตรเจี้ยนเป่า (National Health Insurance) ตอนซื้อ โดยให้ซื้อได้สัปดาห์ละสองชิ้นต่อคนในราคาแค่ชิ้นละห้าหยวน แถมป้องกันการโกลาหลที่ร้านขายยา ด้วยการกำหนดให้ใช้เลขตัวสุดท้ายของบัตรประชาชน คนที่ลงท้ายด้วยเลขคี่ก็ไปต่อแถวซื้อในวันคี่ เช่นเดียวกันสำหรับวันคู่
อิฉันก็ตามข่าวทางทีวีจนมึนไปเหมือนกัน อิอิ แต่ฉันเห็นด้วยนะคะที่ต้องปรับยุทธวิธีกันตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา มีทั้งการห้ามส่งมาสก์ออกนอกประเทศ (ทั้งทางไปรษณีย์หรือทางไหนก็ตาม) ก็ต้องเก็บไว้ให้คนไต้หวันใช้กันภายในประเทศก่อนนะจ๊ะ ต้องใช้นโยบายเอาตัวเองให้รอดก่อน แล้วถึงจะมีแรงช่วยเหลือผู้อื่นนะคะ ประเด็นนี้คงต้องพยายามนึกถึงใจเขาใจเรากันหน่อยนะ เช่นเดียวกับการห้ามคนที่เดินทางมาจากประเทศที่มีอัตราผู้ติดเชื้อไวรัสสูงๆ เข้าประเทศ หรือเข้าพักในโรงแรม โดยเฉพาะพวกโฮสเทลที่ต้องใช้ห้องน้ำหรือห้องพักร่วมกัน มันจำเป็นนะคะมาตรการพวกนี้ เพราะช่วยควบคุมการแพร่ระบาดได้ อย่าไปมองแง่ลบว่าเขารังเกียจหรือไร้น้ำใจอะไรเลย
ทางโซเชียลมีเดียก็มีข้อมูลนู่นนี่ออกมากันตลอด มีชิ้นหนึ่งเป็นรูปภาพแบบอินโฟกราฟิกให้ความรู้เกี่ยวกับมาสก์แต่ละประเภทว่าใช้ป้องกันอะไรได้บ้าง (เช่น ไวรัส แบคทีเรีย ฝุ่น PM 2.5 ฯลฯ) ในระดับแค่ไหน ทำแบบให้เห็นหน้าตามาสก์ชัดๆ ซึ่งฉันอ่านดู มันตรงกับข้อมูลที่ฉันเคยดูข่าวทีวีเมื่อหลายปีก่อน เลยส่งต่อให้กลุ่มครอบครัว เพราะเห็นว่าข้อมูลมันถูกต้อง พี่สาวท้วงกลับมาว่า “แปลด้วยสิ คุณน้อง มาภาษาจีนทั้งรูปงี้ ใครจะอ่านออก” เออแฮะ ลืมไป รับข่าวสารจนมึน แฮ่ะแฮ่ะ พอแปลให้เสร็จ พี่สาวก็ส่งรูปเวอร์ชันภาษาไทยมาให้ดูแล้วถามว่า ประมาณนี้ใช่ไหม ฉันก็ตอบว่าใช่พร้อมกับนึกในใจว่า เออ เร็วดีเหมือนกัน มีคนแปลเป็นไทยเรียบร้อยแล้ว สีก็สดใสดีกว่าอีก เลยส่งต่อให้กลุ่มเพื่อนมัธยม มีเพื่อนคนนึงส่งลิงก์ข่าวมาให้อ่าน ข่าวคือกรมอนามัยของไทยออกมาแถลงว่า รูปนี้ไม่ใช่ทางกรมอนามัยเป็นผู้จัดทำนะ ฉันถึงได้เห็นว่า ด้านล่างมีตัวหนังสือเล็กๆ เขียนว่า ‘ที่มา: กรมอนามัย’ ฉันก็นึกขำๆ อ้าว ไม่ทันมอง ขอโทษทีนะจ๊ะ เพื่อนๆ
ต้องบอกว่างานนี้นี่แทบทุกกระทรวงของไต้หวันทำงานกันไวมาก ไม่ว่าจะกระทรวงพาณิชย์ อุตสาหกรรม สาธารณสุข การท่องเที่ยวไต้หวัน ฯลฯ ทุกฝ่ายทำงานโดยมีจุดหมายเดียวกันคือคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสหลายชื่อนี้ให้ได้ ที่ฉันออกจะทึ่งหน่อยก็คือ มีการพัฒนาแอพฯ ที่ให้ดูว่าที่ไหนมีมาสก์ขายบ้าง เป็นรูปแบบแผนที่ดิจิทัล ออกมาให้คนดาวน์โหลดใช้ได้รวดเร็วจริงๆ แล้วก็ล่าสุดวันนี้ (15 กุมภาพันธ์ 2020) กระทรวงศึกษาธิการบอกว่า ได้เตรียมมาสก์เอาไว้แจกนักเรียน นักศึกษาทั่วเกาะ ในวันเปิดเทอม (25 กุมภาพันธ์ 2020) ที่จะถึงนี้เรียบร้อยแล้ว (เลื่อนเปิดเทอมมาจากกำหนดเดิมสองสัปดาห์) ปริมาณที่เตรียมไว้คือประมาณ 6.5 ล้านชิ้น ผู้ปกครองไม่ต้องกังวลนะจ๊ะ รมว. ศึกษาฯ ออกมาแถลงข่าวแบบนี้ หวงเหล่าซือค่อยโล่งใจหน่อย😅
พอพูดถึงตรงนี้ นึกขึ้นได้ขอเมาท์หน่อยเหอะ มีอยู่เช้าวันหนึ่ง (วันที่ 11 หรือ 12 นี่แหละ) ฉันตื่นมาก็เปิดทีวีเพื่อดูข่าวตามปกติวิสัย เจอข่าวผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกแถลงข่าวว่า ได้มีการให้ชื่ออย่างเป็นทางการสำหรับไวรัสพันธุ์นี้แล้วว่า ‘COVID-19’ อิฉันฟังข่าวแล้วต้อง😲😒… โฮ้ย คุณคะ… who cares! แหม ถ้าจะออกมาแถลงข่าวทั้งที ควรจะรอแถลงข่าวดีว่า มีวิธีปราบเจ้าไวรัสตัวนี้แล้ว จะดีกว่าไหมคะคุ้ณ
- READ 台灣飲食系列展 - ไถวันอิ่นสือซี่เลี่ยจั่น
- READ 大稻埕+迪化街 - ต้าเต้าเฉิง+ตี๋ฮว้าเจีย
- READ 基隆塔 - จีหลงถ่า
- READ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า
- READ เป็ดปักกิ่งสไตล์ไต้หวัน กับ 農曆 (หนงลี่)
- READ "Meet Warbie" เมื่อคุณนายฮวงปะทะเจ้านกอ้วนจอมกวน
- READ Road Trip 1 : หรรษา 阿里山 - อาลีซัน (Alishan)
- READ Road Trip 2 : ดูโบสถ์ ชมงานศิลป์ ฟินธรรมชาติ
- READ "擂茶 - เหลยฉา" ของดีมีทีเด็ดที่ประโยชน์เต็มคำ
- READ "Before I Fall in Love" 李玟 - หลี่เหวิน
- READ 國家太空中心 - กั๋วเจียไท่คงจงซิน
- READ ‘台菜 – ไถไช่
- READ 同性婚姻 - ถงซิ่งฮุนอิน
- READ 情人湖 - ฉิงเหรินหู
- READ 糧食危機 - เหลียงสือเหวยจี
- READ One fine day กับ 烏骨雞
- READ 螢火蟲 - อิ๋งหั่วฉง
- READ 千島湖 - เชียนเต่าหู
- READ 陽明書屋 - หยังหมิงซูอู
- READ 媽祖 - มาจู่
- READ 世界棒球經典賽 - ซื่อเจี้ยปั้งฉิวจิงเตี่ยนไซ่
- READ 台灣燈會 - ไถวันเติงหุ้ย
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 3)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 2)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 1)
- READ 利息 - ลี่สี
- READ 中藥 - จงเอี้ยว
- READ 剪纸 - เจี่ยนจื่อ
- READ 市長 - ซื่อจั่ง
- READ หวังอยู่ - 王羽
- READ 大同電鍋 - ต้าถงเตี้ยนกัว
- READ ภาษาดอกไม้
- READ 隔離 - กักตัว (2)
- READ 隔離 - กักตัว
- READ 虎爺 - เทพเสือ
- READ ดอกไม้โปรดเจียงไคเช็ค
- READ 核能電廠 - เหอเหนิงเตี้ยนฉั่ง
- READ จากถ้ำสู่วัง
- READ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน
- READ 針灸 - เจินจิว
- READ ทัวร์กินทิพย์กับ 3 ร้านบ้านๆ
- READ 氣象先生 - ชี่เซี่ยงเซียนเซิง
- READ Mommy and Uan (1) : How a stray dog has changed my life
- READ Mommy and Uan (2) : Unconditional love
- READ วัคซีนแห่งความเสียสละ
- READ ซอกแซกแถวตั้นสุ่ย
- READ ย่ำกรุงเก่าไต้หวัน
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (1)
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (2)
- READ ถามหาไต้ฝุ่น
- READ 財神 – ไฉเสิน
- READ 累積點數 - เหล่ยจีเตี่ยนซู่
- READ พาคุณชายไปเที่ยว
- READ 圖書館 - ถูซูกวั่น
- READ 麻辣 - หมาล่า
- READ 茶入菜 - ฉารู่ไช่
- READ 三合院 - ซันเหอเยวี้ยน
- READ 梅花 - เหมยฮวา
- READ 茶花 - ฉาฮวา
- READ 溫泉 - เวินเฉวียน
- READ คุณหมอนักเขียน
- READ 冬至 - ตงจื้อ
- READ 鄭和 - เจิ้งเหอ
- READ ของกินเฉพาะฤดูหนาว
- READ 土地公 - ถู่ตี้กง
- READ คุณนายฮวงชวนชิม
- READ 護身符 - หู้เซินฝู
- READ 臺北市動物保護處 - ไถเป่ยซื่อต้งอู้เป่าหู้ฉู้
- READ 基隆廟口夜市 - จีหลงเมี่ยวโข่วเย่ซื่อ
- READ 水燈節 - สุ่ยเติงเจี๋ย
- READ 身份證 - เซินเฟินเจิ้ง
- READ 旗袍 - ฉีเผา
- READ 萬安演習 - วั้นอันเอี่ยนสี
- READ 婚禮 - ฮุนหลี่
- READ Give me an inhalant please!
- READ เที่ยวฟาร์มออร์แกนิก
- READ ชาวสีรุ้ง
- READ 中秋節 - จงชิวเจี๋ย
- READ ชีวิตคนเดินดิน
- READ 湘菜 - เซียงไช่
- READ ข่าวจากสำนักข่าวคุณนายฮวง ณ ไทเป
- READ Discovery Center of Taipei City
- READ 月下老人 - เยว่เซี่ยเหล่าเหริน
- READ In and Out
- READ 情人節 - ฉิงเหรินเจี๋ย
- READ 鬼月 - กุ่ยเยว่
- READ โบกมือลา
- READ มังกรนำทาง
- READ เขาดินไทเป
- READ 快炒 - ไคว่เฉ่า
- READ หนีร้อนไปพึ่งเย็น
- READ เกี๊ยว
- READ เจ่าชัน -早餐
- READ Beyond Beauty : Taiwan from Above
- READ ตั้งไข่ (ไม่) ล้ม
- READ เกาหลิงฮว้าเซ่อหุ้ย
- READ วัด วัด วัด
- READ Old Normal
- READ ภาษาจีนวันละหลายคำ
- READ Portable Bubble Milk Tea
- READ Snow Flower
- READ Birthday Snippets
- READ มังกรโบราณ
- READ ภาษาจีนวันละคำ
- READ ชิงหมิงเจี๋ย
- READ ซ่งไอ่หลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องความสวยงาม
- READ ซ่งชิ่งหลิง
- READ ไวรัสหลายชื่อ
- READ ซ่งเหม่ยหลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องชา (tea นะจ๊ะ มิใช่เหน็บชา😊)
- READ แม่ค้าผักผู้ยิ่งใหญ่
- READ อาหารเพื่อสุขภาพ
- READ เด็กที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ
- READ Jimmy Liao
- READ ระบอบการปกครองของไต้หวัน
- READ หยวนเซียวเจี๋ย
- READ เอนหลังนั่งคุยเรื่อง 'ตรุษจีน'
- READ ศูนย์พักฟื้นหลังคลอดบุตร
- READ มูลนิธิฉือจี้
- READ 7 - ELEVEN
- READ สีสันบันเทิงฉบับไต้หวัน
- READ เรื่องของศิลปะและวัฒนธรรม
- READ ตัวอักษรจีน
- READ ไปตลาดกันดีกว่า
- READ หวางเหล่าซือ
- READ ทีวีไต้หวัน
- READ Mommy and Uan
- READ ไต้หวันรักษ์โลก
- READ ล็อตเตอรี่ใบเสร็จรับเงิน
- READ Hiking
- READ ภัยธรรมชาติประจำเกาะ
- READ อาหารการกินในไต้หวัน
- READ ชีวิตในไต้หวัน
- READ โรงเรียนในไต้หวัน
- READ ระบบขนส่งมวลชนไต้หวัน
- READ Lost in Translation
- READ บ้านในไต้หวัน 2
- READ บทนำ
- READ คนไต้หวัน
- READ บ้านในไต้หวัน 1